กรณีศึกษา! เด็กใช้สีบ้านป้ายรถยนต์ เจ้าของรถถ่ายรูปโพสต์ FB ประจาน แม่เด็กแจ้งความ

ประสบการณ์ใช้รถ | 22 ก.ย 2560
แชร์ 3

จากกรณีเจ้าของรถโพสต์ รูปรถยนต์ของตัวเองในสภาพที่เปื้อนสีเหลืองที่ถูกใช้สีป้ายเลอะเทอะพร้อมกับเด็กที่ตัวเปื้อนสี พร้อมข้อความระบุว่า “มีลูกได้ แต่มีความรับผิดชอบไม่ได้ อย่ามีมันเลยครับ อีสัด ลูกมึงเล่นทาสีบ้านบนรถกูเลย จ้าาาาาาาาาา ถ่ายรูปเด็กไว้ ลูกมึงเหลืองยันกระเจี๊ยว ยังกล้าบอกว่าลูกไม่ได้ทำอีก จ้าาาาาาาาาา ตำรวจก็ไม่พิจารณาหลักฐานกูเลย จะเอาคลิปวีดีโอ จ้าาาาาาา สังคมป่วยเพราะคนแบบนี้มีมากขึ้นทุกวัน เห็นแก่ตัว ติดสินบน ...

จากกรณีเจ้าของรถโพสต์ รูปรถยนต์ของตัวเองในสภาพที่เปื้อนสีเหลืองที่ถูกใช้สีป้ายเลอะเทอะพร้อมกับเด็กที่ตัวเปื้อนสี พร้อมข้อความระบุว่า
“ มีลูกได้
แต่มีความรับผิดชอบไม่ได้
อย่ามีมันเลยครับ อีสัด
ลูกมึงเล่นทาสีบ้านบนรถกูเลย จ้าาาาาาาาาา
ถ่ายรูปเด็กไว้ ลูกมึงเหลืองยันกระเจี๊ยว ยังกล้าบอกว่าลูกไม่ได้ทำอีก จ้าาาาาาาาาา
ตำรวจก็ไม่พิจารณาหลักฐานกูเลย จะเอาคลิปวีดีโอ จ้าาาาาาา
สังคมป่วยเพราะคนแบบนี้มีมากขึ้นทุกวัน
เห็นแก่ตัว ติดสินบน หน้าด้าน
สุดท้ายลอยนวล แล้วคนดีๆเสียเปรียบคนพวกนี้
แล้วคนดีจะดีไปทำไม อื่มมมม มันน่าคิด”
#ไม่เครียดหรอก
#สีน้ำเงินก็น่าจะสวยนะ
#ล้อก็เก่าแล้วด้วย”

ซึ่งในตอนหลังเจ้าของรถก็ได้ลบรูปเด็กออกไป เหลือไว้เพียงรูปรถยนต์ Mazda ของตนที่เปื้อนสีอยู่ ซึ่งก็มีผู้มาแสดงความเห็นกันอย่างล้นหลาม และแชร์ออกไป รวมถึงสื่อต่างๆ ก็มีการนำเสนอข่าว ก็มีผู้มาแสดงความคิดเห็นที่มีการด่าทอเด็กด้วยด้วยคำที่ไม่สุภาพ หยาบคายต่างๆ นาๆ แต่ก็มีบางส่วนแนะนำให้เป็นไปตามขั้นตอนของประกันภัย
จนล่าสุด แม่ของเด็กของได้ออกมาขอความเป็นธรรมในกรณีของการสร้างความเข้าใจผิด โดยเผยว่า ตนกำลังเก็บของหลังจากปิดร้าน มีคนตะโกนบอกว่า ลูกของตนนั้นจึงรีบไปดูพบว่ารถถูกทาสี ซึ่งเห็นว่าลูกชายตัวเปื้อนสีจริง จึงบอกกับเจ้าของรถว่าให้ไปติดต่ออู่ทำสีรถใหม่ และยินดีจะชดใช้ค่าเสียหายให้ แต่คู่กรณีไม่ยินยอมและเรียกเงินค่าเสียหาย 35,000 บาท ซึ่งตนเองไม่มีจ่ายให้ จำนวนเงินที่เรียกมามากไป ก่อนที่คู่กรณีเรียกประกันมา โดยเจ้าหน้าที่ประกันจะให้ตนเองเซ็นรับผิดฝ่ายเดียวตนจึงไม่ยอมเซ็น เพราะเจ้าของรถบอกเองว่ามีเด็กสองคนเป็นคนทำ เมื่อตกลงไม่ได้ก็เข้าไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งทางตำรวจก็มีการขอดูหลักฐานที่เป็นคลิปจริงๆ แต่ก็เป็นการขอดูหลักฐานเพิ่มเติมปกติ

แม่ของเด็กพร้อมทนายแจ้งข้อหา เจ้าของรถ เนื่องจากการโพสต์ข้อความดังกล่าวถูกสังคมออนไลน์โจมตีมากเกินไป เหมือนไม่ให้มีที่ยืนในสังคม และเกิดความเครียด เพราะมีการด่าโจมตีลูกและหาว่าไม่ดูแลลูก ทั้งคำด่าของคนโพสต์และนำภาพลูกชายออกไปเผยแพร่ และคำพูของลูก ว่าตำรวจจะมาจับตัวหรือไม่” โดยมีความผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ซึ่งทางด้านของนาย นายศุภสิทธิ์ ศิริ ผู้จัดการสำนักงานกฎหมายวงศกรณ์ กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นรถยนต์เปื้อนสีมีประกันภัยที่สามารถรับผิดชอบเคลมความเสียหายได้ ถือเป็นไปตามขั้นตอน เพราะเมื่อสรุปจำนวนก็มาเรียกเก็บเงินกับผู้กระทำผิดได้
“ติดใจทางประกันภัยของคู่กรณี เพราะสามารถดำเนินตามขั้นตอนการเสียหายของประกันภัยได้ ตามที่รถยนต์ดังกล่าวทำประกันไว้ ซึ่งควรทำตามหน้าที่ซ่อมรถที่เสียหายให้ตามกระบวนการ ก่อนที่มาเรียกความเสียหายจากผู้กระทำผิด แต่กลับกลายให้ทางแม่เซ็นรับผิดฝ่ายเดียว ซึ่งหลังจากนี้จะดำเนินคดีอาญาและเรียกค่าเสียหาย จากการถูกโพสต์หมิ่นประมาทสต์รวมถึงการเผยแพร่หน้าตาของเด็กวัย 4 ขวบ ถือว่าเข้าข่ายความผิดชัดเจน” นายศุภสิทธิ์ กล่าวแต่เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการปฏิเสธความรับผิดชอบ ประกอบกับการเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจ แม่ของเด็กก็เดินทางไปด้วย ส่วนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นการสอบถามถึงกล้องวงจรปิด ถือเป็นการสอบถามตามปกติ
นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีอัยการ สำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด กล่าวว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นกับเด็ก 4 ขวบ ซึ่งตามกฎหมายเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งหรือดำเนินคดี แต่ส่วนของพ่อแม่ก็ต้องดำเนินคดีทางแพ่งที่ต้องรับผิดชอบ หากลูกกระทำความผิดหรือก่อให้เกิดความเสียหาย แต่เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นที่ไม่ต้องกันในเรื่องการยอมรับค่าเสียหาย ส่วนการทำหน้าที่ของตำรวจรับเป็นคดี ถือว่าสอบถามหลักฐานตามปกติ
สำหรับการนำรูปเด็กมาโพสต์ในทางที่เสื่อมเสีย เพราะเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ประกอบกับการโพสต์ข้อความในเชิงกล่าวหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 ถือว่ามีโทษรุนแรง จำคุก 7 ปี และไม่สามารถยอมความได้
ในกรณีหากเกิดเคสแบบนี้ต้องยอมรับว่าเป็นใครก็หัวร้อนครับ แต่หากมีสติซักนิดหนึ่งเจ้าของรถเองคิดได้ว่า การโพสต์รูปประจานมันผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นรูปเด็กด้วยโดนหนักเลยครับ จริงๆ แล้วเราก็ควรจบที่ให้บริษัทประกันภัยมาเคลียร์ และเราก็เรียกค่าสินไหมระหว่างการใช้เวลาทำสีรถใหม่กับประกันได้ ครับ อาจจะยุ่งยากนิดหน่อยแต่มันเกิดขึ้นแล้วก็จำใจครับ
กรณีดังกล่าวหากเจ้าของรถยนต์คันดังกล่าว มีประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ สามารถติดต่อไปยังบริษัทประกันที่ได้ทำประกันไว้ เพื่อเคลมปัญหาที่เกิดขึ้น และหากรู้ตัวผู้กระทำความเสียหายต่อรถยนต์ ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้ดำเนินคดีความตามกฎหมาย เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำความผิดต่อรถยนต์เอง โดยที่เจ้าของรถไม่จำเป็นต้องกระทำการใดๆ
ส่วนกรณีการเคลมประกันภัยรถยนต์ที่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกนั้น จะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ

1. กรณีที่ไม่สามารถหาคู่กรณีได้ หรือแจ้งสาเหตุไม่ชัดเจน ส่วนนี้เราต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกเองเป็นเงิน 1,000 บาท และ

2. กรณีซื้อกรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ไว้ หากมีใครนำรถไปใช้แล้วขับไปชน พิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายผิดซึ่งหากไม่ใช่ชื่อผู้ขับที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ส่วนนี้เราจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกทันที 6,000 บาท

แน่นอนการทำสีรถใหม่ กับสีเดิมๆ ที่มาจากโรงงานมันไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นรถของแอดมินเองก็ปวดร้าวไปเหมือนกันครับ แต่ก็แนะนำว่า เราควรให้เหตุผลกับทางผู้ปกครองของเด็กว่า การทำสีใหม่ได้ก็ไม่เหมือนเดิม ทั้งไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอายุการใช้งาน 4-5 ปี สีที่ทำใหม่กับสีที่เดิมๆ จากโรงงาน ความทนทานมันก็ต่างกันครับ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Mazda คันนี้ สีแดงพิเศษที่มาจากโรงงาน ไม่ใช่สีพื้นฐานที่อู่ไหนก็ทำได้ รวมถึงรถที่ทำสีใหม่นั้น หากขายมือสองไม่ต้องพูดถึงส่วนต่างราคาที่หายไปเลยครับ ก็เป็นตัวเลขหลักหมื่นเหมือนกัน ก็คุยกันอย่างมีเหตุและผลกันดีกว่าครับ