กรมขนส่งทางบกเตรียมเพิ่มกระบวนการให้ตรวจสภาพจิตก่อนทำใบขับขี่

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 1 เม.ย 2559
แชร์ 6

ต้องบอกว่าที่ผ่านมานั้นในบ้านเราจะเห็นข่าวบ่อยครั้งในเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เมื่อตรวจสอบพบว่า เป็นโรคป่วยทางจิต ก่อนหน้านี้ถ้าใครยังจำได้ ที่ลาดพร้าว วังหิน มีหญิงสาวขับรถย้อนศร มาชนแท็กซี่ แล้วลงมาโวยวายในสภาพที่เปลือยร่างมาเลย และล่าสุดก็ประเด็นใหญ่หนุ่มเบนซ์ซิ่งชนท้ายฟอร์ด เฟียสต้า หลังเกิดเหตุทางพ่อของเจ้าของเบนซืก็ออกมาบอกว่า บุตรชายมีอาการทางประสาท มีอาการชักเกร็ง และเคยเข้ารับการรักษาจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และก่อนหน้านี้มีอีกหลายเหตุการณ์

ต้องบอกว่าที่ผ่านมานั้นในบ้านเราจะเห็นข่าวบ่อยครั้งในเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เมื่อตรวจสอบพบว่า เป็นโรคป่วยทางจิต ก่อนหน้านี้ถ้าใครยังจำได้ ที่ลาดพร้าว วังหิน มีหญิงสาวขับรถย้อนศร มาชนแท็กซี่ แล้วลงมาโวยวายในสภาพที่เปลือยร่างมาเลย และล่าสุดก็ประเด็นใหญ่หนุ่มเบนซ์ซิ่งชนท้ายฟอร์ด เฟียสต้า หลังเกิดเหตุทางพ่อของเจ้าของเบนซืก็ออกมาบอกว่า บุตรชายมีอาการทางประสาท มีอาการชักเกร็ง และเคยเข้ารับการรักษาจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ และก่อนหน้านี้มีอีกหลายเหตุการณ์

ใบขับขี่

หลายคดีที่เกิดขึ้นทำให้นักวิชาการเครือข่ายเพื่อความปลอดภัยทางถนน โดยนายรักษิต ฐิติพัฒนพงศ์ เรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบกเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบสภาพร่างกายของผู้ขับขี่ ก่อนที่จะออกใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ หรือการต่อใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ให้มีมาตรฐานเหมือนกับต่างประเทศที่นำมาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการขับขี่รถบนท้องถนน ด้านนักวิชาการเครือข่ายเพื่อความปลอดภัย กล่าวว่า ผมเคยเรียกร้องไปยังกรมขนส่งทางบกหลายครั้งในเรื่องของการออกใบอนุญาตขับขี่นั้น ควรมีการตรวจสอบว่าผู้ขับขี่เป็นบุคคลที่มีภาวะไม่ปกติหรือไม่ หรือเป็นผู้สูงอายุที่มีสภาพร่างกายพร้อมจะขับรถยนต์บนถนนกับผู้ใช้รถใช้ถนนกับคนอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงต้องมีการตรวจสอบสภาพร่างกายว่ามีศักยภาพเพียงพอที่จะขับรถหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นบนท้องถนน เพราะหากปล่อยให้คนกลุ่มออกมาขับขี่บนถนนนั้นมีเสี่ยงมากๆ ที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา เพราะพวกเขามีภาวะทางอารมณ์ที่แปรปรวนไม่ปกติ รวมถึงการตัดสินใจต่างๆ ไม่เท่ากับคน ใครที่มีสภาวะที่ไม่พร้อมก็ไม่สามารถขับรถยนต์ได้

ส่วนทางด้านของพล.ต.ต. อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น ยืนยันว่า ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีสภาวะไม่พร้อมในการขับขี่รถยนต์ แต่ฝืนที่จะนำรถออกมาขับขี่บนท้องถนนจนเกิดอุบัติเหตุขึ้น จนกระทั่งมีการดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายจราจร โดยจะทำการเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ในภายหลัง ตนจึงมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่ได้เป็นการป้องกันเหตุตั้งแต่ต้น ปัญหานี้จึงเกิดขึ้นในสังคมไทยอยู่ทุกวันนี้และจะเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ช่วยกันแก้ไขหรือดำเนินการให้มีมาตรฐานอย่างที่ควร โดยกล่าวว่า “ตำรวจเป็นปลายทางทางในการแก้ไข ต้นทางคือกรมการขนส่งทางบก ผมยกตัวอย่างในประเทศสิงคโปร์ หรือสหรัฐอเมริกา การออกใบอนุญาตขับขี่นั้น ยากมากกว่าจะได้ใบขับขี่มาใบหนึ่ง แต่บ้านเราไปยื่นช่วงเช้า บ่ายก็ได้รับแล้ว ผมคิดว่าต่อไปนี้เราควรที่จะมีวิธีการปรับให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้นเหมือนระดับสากล ให้มีการตรวจสอบในเรื่องของสภาพจิตใจและการแพทย์ให้มากขึ้น ถ้าหากแพทย์ตรวจสอบแล้วว่าคนๆ นั้นมีสภาวะปกติ แต่จริงๆ แล้วมีปัญหาทางจิต แพทย์ก็ต้องรับผิดชอบด้วย”

ขณะที่กรมการขนส่งทางบก โดยนายณันทพงศ์ เชิดชู รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ออกมายืนยันว่า การทำใบอนุญาตขับขี่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือใบรับรองแพทย์ ซึ่งในรับรองแพทย์จะต้องระบุว่า บุคคลที่แพทย์ให้การรับรองมาจะต้องไม่มีโรคที่เป็นอันตรายในการขับขี่และต้องไม่เป็นโรคที่ระบุไว้ใน 3 โรค คือ โรคเท้าช้าง โรควัณโรค โรคกล้ามเนื้อลีบ พร้อมทั้งต้องมีการทดสอบสมถรรถภาพทางร่างกายและทดสอบตาบอดสี ส่วนบุคคลใดที่จะต่อใบขับขี่ทุกๆ 5 ปี จะต้องมีใบรับรองแพทย์ที่อายุไม่เกิน 1 เดือน มาเป็นเอกสารประกอบสำหรับการตรวจเฉพาะด้านจิตเวชยังไม่มีในข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก เนื่องจากมองว่าเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในการตรวจโรคดังกล่าวซึ่งก่อนหน้านี้กรมการขนส่งทางบกได้เคยร่วมประชุมกับทางสำนักงานเลขาธิการแพทยสภา เพื่อร่วมมือกันปรับปรุงเนื้อหาของโรคต่างๆ ที่จะมีการเพิ่มโรคทางด้านจิตเวชระบุไปในใบรับรองแพทย์ด้วย โดยจะต้องผ่านการกลั่นกรองมาจากแพทย์แล้วในขั้นตอนเบื้องต้นก่อนจะออกใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งหากแพทย์ระบุว่า ป่วยเป็นโรคด้านจิตเวช ก็จะถูกยึดใบขับขี่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปีทันที

นอกจากนี้ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ยังบอกอีกว่า คนส่วนใหญ่ที่มาต่อใบขับขี่หรือมาทำใบอนุญาตขับขี่ในสภาวะตอนนั้น ส่วนมากยังเป็นคนที่ไม่มีโรคประจำตัว แต่เมื่อออกใบอนุญาตขับขี่ไปแล้ว บางรายมาป่วยในภายหลัง สาเหตุอาจจะเกิดจากความเครียด การเสพยาเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง จึงส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีสภาพไม่พร้อมในการขับขี่ เมื่อคนกลุ่มนี้ขับรถไปบนท้องถนนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้หวังว่าอุบัติเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จะทำให้หลายหน่วยงานออกโรงมาแก้กฎหมายการจราจรกันใหม่ เพื่อให้การออกใบอนุญาตขับขี่มีมาตรฐานเหมือนกับในหลายประเทศที่ต้องตรวจสภาพร่างกายให้มีความพร้อม โดยเฉพาะการตรวจโรคทางด้านจิตเวชที่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องประกอบในใบรับรองแพทย์ว่าบุคคลๆ นั้น เป็นบุคคลที่พร้อมจะขับขี่รถไปบนท้องถนน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวเองและเพื่อนร่วมทาง ความสูญเสียก็จะไม่เกิดตามมา

ก็ฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆ ทางไปแล้วครับ ส่วนตัวทางเรามองว่าใบรับรองแพทย์ที่เอาไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการทำใบขับขี่นั้นมันยังไม่ได้มีมาตรฐานพอที่จะบ่งบอกได้เลยว่าไม่ได้เป็นโรคอะไร บางรายต้องบอกเลยว่าไปซื้อจากคลินิกมา หากจะเอาจริงกับเรื่องนี้น่าจะมีหน่วยตรวจสุขภาพประจำสำนักงานขนส่งฯ ตรวจมันตรงนั้นโดยตรงก่อนที่จะอนุญาตให้ทำใบขับขี่ แต่ทั้งนี้การดำเนินงานต่างๆ ก็ต้องเพิ่มขั้นตอนเข้าไปอีก แต่นี่ก็เป็นเพียงความเห็นของเรานะครับ ใครมีความเห็นอื่นๆ อย่างไร ก็สามารถแสดงความคิดเห็นกันในกล่องด้านล่างได้เลยครับ