แอร์รถยนต์ ต้องล้างแบบไหน ถึงจะดี??

ประสบการณ์ใช้รถ | 5 ก.ย 2560
แชร์ 3

การล้างตู้แอร์รถยนต์ ต้องล้างแบบไหน ระหว่างแบบไม่ถอดตู้ กับแบบถอดตู้ แบบไหนดีกว่ากัน??

แอร์รถยนต์ ต้องล้างแบบไหน
แอร์รถยนต์ ต้องล้างแบบไหน

ตู้แอร์รถยนต์ ก็เหมือนกับตู้แอร์ในบ้านเรา ที่เมื่อใช้งานไปนานๆ ก็ต้องมีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าไปสะสมและเกาะตัวเป็นคราบเกิดการอุดตันการปล่อยลมแอร์ที่พัดออกมาสู่ห้องโดยสาร และเมื่อความเย็นออกมาไม่เต็มที่ แล้วอากาศก็ร้อนระอุขนาดนี้ รถยนต์กลายเป็นเตาอบแน่นอน

ฉะนั้น ถ้าไม่อยากเจอเหตุการณ์แบบนี้ อย่าลืมให้ความสำคัญกับระบบแอร์รถยนต์กันสักหน่อย ด้วยการนำรถไปล้างตู้แอร์รถยนต์บ้าง หลายคนสงสัยว่า ควรจะล้างตู้แอร์รถยนต์แบบไหนดี? ระหว่างล้างแบบถอดตู้กับล้างแบบไม่ถอดตู้ และมันมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลย

แอร์รถยนต์ ต้องล้างแบบไหน
การล้างตู้แอร์รถยนต์

  1. การล้างตู้แอร์รถยนต์ แบบไม่ถอดตู้

โดยทั่วไปแล้ว การล้างตู้แอร์รถยนต์แบบไม่ถอดตู้ จะมีการกำหนดน้ำยา ใช้เฉพาะสำหรับการล้างเท่านั้น และการล้างแบบนี้เหมาะกับรถใหม่ หรือรถที่ล้างแอร์รถยนต์ปีละ1 ครั้ง รวมถึงรถที่ดูแลตู้แอร์รถยนต์เป็นประจำ

ข้อดี

  • ไม่ต้องรื้อคอนโซลออกมา
  • ทำความสะอาดได้ง่ายดายมากกว่า
  • ค่าใช้จ่ายถูกกว่าล้างแบบถอดตู้
  • ใช้เวลาในการทำความสะอาดเร็วกว่

ข้อเสีย

  • ถ้าหากตู้แอร์รถยนต์สกปรกมาก อาจล้างได้ไม่สะอาดเท่าที่ควร

*** สามารถใช้วิธีฉีดสเปรย์ เพื่อทำความสะอาดให้ทั่วคอยล์เย็น 2-3 เดือนต่อครั้ง ซึ่งคราบน้ำยาจะค่อยๆ ออกมาพร้อมกับน้ำยาแอร์ตามท่อน้ำทิ้ง

การล้างตู้แอร์รถยนต์
การล้างตู้แอร์รถยนต์แบบถอดตู้

  1. การล้างตู้แอร์รถยนต์แบบถอดตู้

คือ การรื้อตู้แอร์ แล้วเอาแผงคอยล์เย็นและแผงคอยล์ร้อนออกมาล้างสิ่งสกปรก ซึ่งวิธีนี้จะสะอาดมาก เพราะล้างได้ครบทุกซอกตามมุม

ข้อดี

  • ทำความสะอาดได้ทุกซอกทุกมุม และสะอาดกว่าล้างแบบไม่ถอดตู้
  • สามารถตรวจสอบหรือเช็คสภาพของตู้แอร์รถยนต์ได้
  • สามารถประเมินอายุการใช้งานของแอร์รถยนต์ได้

ข้อเสีย

  • เสียเวลาและยุ่งยากในการรื้อแผงคอนโซล
  • ใช้เวลาทำความสะอาดนาน
  • มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบล้างไม่ถอดตู้แอร์รถยนต์
  • ถ้าเจอร้านใช้ผงซักฟอก หรือโซดาไฟในการล้าง เมื่อเวลาประกอบกลับเข้าไป แล้วเปิดแอร์จะรู้สึกว่ามีกลิ่นผงซักฟอก นั่นแสดงว่ายังล้างออกมาไม่หมด และอาจไปกัดกร่อนคอยล์เย็นได้ รวมถึงส่งผลไม่ดีต่อระบบหายใจ
  • การถอดตู้ แอร์รถยนต์แบบนี้ จะต้องคอยเติมน้ำยาแอร์ใหม่ และเปลี่ยนไดเออร์กับวาล์วความดันอยู่เสมอ ถ้าไม่ปลี่ยน ท่อแอร์อาจรั่วได้ เพราะความชื้นที่เข้าไปอยู่ในระบบ จากการถอดตู้แอร์รถยนต์

 

>> ดูเพิ่มเติม:

“แอร์เย็นไม่ฉ่ำ” กับ 4 จุดตรวจเช็คแอร์ในรถคุณเมื่อมีปัญหา

กรองแอร์รถยนต์ อีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ

สิ่งต้องห้าม ไม่ควรทำกับแอร์รถยนต์