"ปะยาง"สตีม- สอดใส้แตกต่างกันอย่างไร!

ประสบการณ์ใช้รถ | 31 พ.ค 2559
แชร์ 3

สิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ไม่อยากเจอมากที่สุดอันดับต้นๆ นั่นก็คือ ยางแตก ยางรั่ว ยางระเบิด ยิ่งถ้าเกิดเหตุการแบบนี้ขึ้นในช่วงเวลากลางคืน ช่วงรถติด หรือที่เปลี่ยวๆ ยิ่งอันตรายใหญ่ และถ้าเกิดเหตุการยางแตกขึ้นมาจริงๆ เราควรเลือกปะยางด้วยวิธีไหนถึงจะดี?

สิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ไม่อยากเจอมากที่สุดอันดับต้นๆ นั่นก็คือ ยางแตก ยางรั่ว ยางระเบิด ยิ่งถ้าเกิดเหตุการแบบนี้ขึ้นในช่วงเวลากลางคืน ช่วงรถติด หรือที่เปลี่ยวๆ ยิ่งอันตรายใหญ่ และถ้าเกิดเหตุการยางแตกขึ้นมาจริงๆ เราควรเลือกปะยางด้วยวิธีไหนถึงจะดี?

ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักกันก่อน การปะยางมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ซึ่งถ้าหากแบ่งแยกตามมาตรฐานแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ การปะแบบสตีม และการปะแบบสอดใส้

DSCF1587
สตีม คือ การปะยางแบบดั้งเดิม ที่ใช้กับรถทุกชนิด ตั้งแต่ รถจักรยาน ถึง รถบรรทุก โดยแบ่งออกเป็น สตีมร้อน กับ สตีมเย็นอีกด้วย

สตีมร้อน ใช้ได้กับมอเตอร์ไซค์ ไปจนถึง รถสิบล้อครับ โดยจะใช้ยางปะชนิดพิเศษ ผ่านกระบวนการหลอมด้วยความร้อน จากนั้นประกบกับรอยแผล และใช้เครื่องมือในการกดเพื่อประสานแผ่นยาง กับยางรถของเรา ให้แนบชิดสนิทสนม ทิ้งไว้ซักพักก็ใช้งานต่อได้ครับ

สตีมเย็น ราคาถูกมากที่สุด แต่อย่างที่บอกครับ ทนต่อความร้อนได้ต่ำ และรับแรงดันได้น้อย จึงใช้ได้แค่ในเฉพาะจักรยานครับ ไม่สามารถใช้กับรถยนต์ได้

Banner_Newunseencar1
การปะแบบสอดใส้ คือการเอายางที่รั่วมาถอนเอาของแข็งที่ทิ่มออกไป แล้วใช้ตะปูใบหางหนูมาแทงแยงเข้าไปตรงรูที่รั่วเพื่อทำความสะอาด จากนั้นจึงใช้เส้นยางผสมกับใยสังเคราะห์มาชุบไปบนน้ำยา ที่มีส่วนผสมของยางดิบ และกาวสำหรับประสาน จากนั้นก็ใช้เครื่องมือแทงยัดเส้นยางดังกล่าว อัดเข้าไปในรูแผลที่รั่วนั้น

สรุป การปะแบบสอดใส้ คือการปะแบบชั่วคราว ระยะยาวอาจรั่วใหม่ได้ ทางที่ดีก็คือ ถ้ารั่วอีกก็ปะใหม่ราคาไม่แพง หรือนำไปแปะสตีมก็จะอยู่ได้ทนทานกว่ามาก แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้เปลี่ยนยางเส้นใหม่จะดีกว่าครับ เพื่อความปลอดภัยด้วย

อ่านข่าวสารยานยนต์เพิ่มเติมคลิกทีนี่!