ได้ใบสั่งมาทั้ง ๆ ที่เราไม่ผิดจะทำอย่างไรไปหาคำตอบกัน??

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 6 ต.ค 2559
แชร์ 0

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ทนายความเกิดผล แก้วเกิด ได้แชร์บทความด้วนกฏหมายลงในเฟสบุ๊คของตัวเอง เกี่ยวกับกรณีที่เมื่อได้รับใบสั่งที่ไม่ถูกต้องประชาชนควรทำอย่างไร เรียกได้ว่าให้ความรู้ได้อย่างมากเลยทีเดียวโดยเนื้อหาบทความบางส่วนว่า

เมื่อได้รับใบสั่งที่ไม่ถูกต้องจะต้องทำอย่างไร ในกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจจราจร ออกใบสั่งเปรียบเที่ยบปรับให้โดยเราเชื่อว่าใบสั่ง และข้อหานั้นไม่ถูกต้องเราควรจะทำอย่างไรดีซึ่งทางทีมงาน Unseencar ได้หยิบบทความของ ทนายเกิดผล แก้วเกิด มาไขข้อข้องใจให้ครับ

0-tile
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ทนายความเกิดผล แก้วเกิด ได้แชร์บทความด้วนกฏหมายลงในเฟสบุ๊คของตัวเอง เกี่ยวกับกรณีที่เมื่อได้รับใบสั่งที่ไม่ถูกต้องประชาชนควรทำอย่างไร เรียกได้ว่าให้ความรู้ได้อย่างมากเลยทีเดียวโดยเนื้อหาบทความบางส่วนว่า

1.) ต้องพึงเข้าใจว่าเจ้าพนักงานตำรวจกำลังปฎิบัติหน้าที่เราจะพูดอะไรก็พูดเฉพาะเรื่องของเรา กับคดีของเราเท่านั้น หากสามารถบันทึกเสียงหรือภาพก็ควรบันทึกไว้ด้วย และไม่ต้องห่วงว่าจะถูกดำเนินคดีในข้อหาถ่ายรูป หรือถ่ายคลิปเจ้าพนักงานเพราะไม่มีกฎหมายห้าม

2.) ต้องให้เกียรติคู่สนทนา แม้ว่าคู่สนทนาจะพูดจาไม่ให้เกียรติ อันเป็นการแสดงถึงวุฒิภาวะอย่างหนึ่งคนที่ไม่ให้เกียรติคู่สนทนามักจะหลุดภาษาออกมาโดยพลั้งเผลอ เพราะสันดานบ่อย ๆ ซึ่งคำๆนั้นมันจะมีคดีหมิ่นประมาทตามมา อีกประการหนึ่งการให้เกียรติคู่สนทนาจะทำให้ลดความขัดแย้ง และความรุนแรงลงได้เราจึงควรพยามพูดอยู่ในเหตุผล และหลักกฎหมายซึ่งสำคัญกว่าการยั่วยุกัน

3.) ในกรณีที่เราถูกกล่าวหา และตำรวจจะเขียนใบสั่งให้สิ่งแรกเราต้องมั่นใจว่าเราไม่ได้ทำผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่ว่า พรบ.จราจรทางบก, พรบ.รถยนต์, พรบ.ขนส่ง ซึ่งหากเราไม่ศึกษากฎหมายเหล่านั้นเราจะไม่มีภูมิความรู้ในเบื้องต้นโต้แย้งคัดค้านก็ไม่ถูก หรือตำรวจตั้งข้อกล่าวหาให้เราก็ไม่รู้ว่าใช่หรือไม่ โอกาสที่จะโต้แย้งตามหลักกฎหมายจึงเป็นไปได้ยาก ในกรณีท่านที่พอมีความรู้ตามข้อ 3 มาบ้างก็ควรจะรู้ให้จริงในเรื่องนั้นๆ หากไม่ผิดมาตรานี้จะไปผิดมาตราอื่นหรือไม่ ไม่ใช่ดันทุรังเถียงข้าง ๆ คู ๆ

4.) ให้ใช้สติสอบถามข้อหาว่าเราผิดอะไร เจ้าพนักงานตำรวจต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ถูกต้อง หากเราไม่เห็นด้วยก็อาจโต้แยังตามภูมิความรู้ แต่ไม่จำเป็นต้องโต้เถียงแบบยั่วยุ เอาเป็นเอาตาย

5.) หากเจ้าพนักงานตำรวจไม่รับฟังเหตุผลท่านจะให้เขาเขียนใบสั่งมาก็ได้ (ความจริง ตำรวจสามารถเขียนใบสั่งให้เราได้โดยไม่ต้องถามเราหรอก) ในการเขียนใบสั่งให้ตรวจดูใบสั่งว่าตั้งข้อหาถูกต้องหรือไม่ ไม่ใช่กล่าวหาว่าท่อไอเสียรถเสียงดัง แต่ไปเขียนในใบสั่งว่าขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย ซึ่งถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องท่านต้องโต้แย้งให้แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนที่จะรับใบสั่งนั้นมา เพราะถ้าท่านรับใบสั่งมาแล้วเท่ากับยอมรับว่า ข้อหาในใบสั่งนั้นถูกต้อง (แต่จะผิดหรือไม่อีกประเด็นหนึ่ง)

14454533_1179164818810462_1963721973_nเมื่อรับใบสั่งนั้นมาแล้วท่านมีวิธีการดังต่อไปนี้
นำใบสั่งเปรียบเทียบปรับใบนั้นไปพบพนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจที่ออกใบสั่ง และแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเราไม่ยอมรับข้อหา และไม่ยอมเสียค่าปรับขอให้พนักงานสอบสวนนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาคดีต่อไป ซึ่งพนักงานสอบสวนจะคืนใบอนุญาตให้ท่าน และสอบปากคำท่านในฐานะผู้ต้องหา ในการสอบปากคำในฐานะผู้ต้องหาท่านมีสิทธิให้การอย่างไรด้ก็ได้จะปฎิเสธลอยๆ หรือปฎิเสธโดยแสดงเหตุผลด้วยก็ได้ และท่านมีสิทธิขอให้ทนายร่วมฟังการสอบสวนด้วยก็ได้

เมื่อสอบสวนเสร็จ พนักงานสอบสวนจะนัดหมายท่านเพื่อตัวส่งฟ้องต่อไป
ตำรวจจะทำสำนวนส่งให้อัยการและนัดท่านมารับฟ้องในวันรับฟ้อง ศาลจะถามว่าท่านจะรับหรือปฎิเสธ และมีทนายหรือไม่หากไม่มีทนายศาลจะตั้งทนายให้ท่านก็เข้าสู่กระบวนการในศาลโดยสมบูรณ์ หากท่านแพ้คดี ก็แค่เสียค่าปรับ แต่ถ้าท่านชนะคดี ค่อยกลับมาฟ้อง 157 การออกใบสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ท่านก็สามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุได้ ในกรณีที่ท่านไปแจ้งพนักงานสอบสวนแล้วเห็นว่าล่าช้า หรือคิดว่าแจ้งแล้วคดีจะไม่มีความคืบหน้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ท่านก็สามารถจ้างทนายความฟ้องร้องได้ด้วยตัวเอง

การดำเนินคดีไม่มีอะไรยุ่งยากหากรู้จริง และมีความกล้าที่เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตนเองสักหน่อยนะครับ อนึ่งความผิดตามกฎหมายจราจรส่วนใหญ่เป็นความผิดลหุโทษ แม้แพ้คดีก็ไม่มีประวัติทางอาชญากรรมนะครับ ทนายเกิดผล เกิดแก้วได้กล่าวไว้

อ่านข่าวสารยานยนต์เพิ่มเติมที่นี่!

ขอบคุณที่มาจาก เฟสบุ๊คทนายเกิดผล เกิดแก้ว